อลังการระบำจัมปาศรี ต่าย อรทัย พร้อมนางรำ 5 พันคน บวงสรวงพระบรมธาตุนาดูน

อลังการรำจัมปาศรี ต่าย อรทัย พร้อมนางรำ 5 พันคน รำบวงสรวงพระบรมธาตุนาดูน  

ที่พุทธมณฑลอีสานพระบรมธาตุนาดูน อ.นาดูน จ.มหาสารคาม นายเกียรติศักดิ์ ตรงศิริ ผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม เป็นประธานเปิดงานนมัสการพระบรมธาตุนาดูน ประจำปี 2566 ซึ่งจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 4-12 มีนาคม 2566 รวม 9 วัน 9 คืน โดยมีประชาชนร่วมงานกว่าหมื่นคน และในวันที่ 6 มีนาคม 2566 ซึ่งเป็นวันมาฆบูชา จะมีพิธีปฏิบัติธรรม และร่วมเวียนเทียนรอบองค์พระธาตุนาดูนอีสาน และในทุกปีจะมีการจัดงานนมัสการพระบรมธาตุนาดูน ช่วงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 หรือวันมาฆบูชา โดยมีกิจกรรมภายในงานนมัสการพระบรมธาตุนาดูน มี ขบวนแห่ประเพณี 12 เดือน และมีการรำถวายพระบรมธาตุนาดูนซึ่ง มีนางรำในตำบลต่างๆในอำเภอนาดูน รวมกว่า 5,000 คน มาร่วมรำบวงสรวงพระธาตุ ในเพลงระบำจัมปาศรนาฏการ รำขอพระพระธาตุนาดูน ฟ้อนอภิวาทพระธาตุนาดูน นำโดยนักร้องชื่อดัง ต่าย อรทัย

นอกจากนี้ยังมี ครูสลา คุณวุฒิ และเชอรี่ ปิยะพร ระเบียบวาทะศิลป์ พร้อมนางรำจำนวน 5,000 คน ร่วมแสดงในพิธี โดยเมื่อเสียงดนตรีดังขึ้นผู้คนภายในงานต่างจับจ้องไปที่การร่ายรำของต่าย อรทัย ที่ออกมาเป็นผู้นำนางรำทั้งหมด พร้อมบันทึกภาพท่วงท่าความอ่อนช้อยตลอดทั้งการแสดง และเมื่อสิ้นสุดการรำได้มีเสียงปรบมือดังกึกก้องไปทั่วงาน พร้อมชื่นชมการแสดงที่มีมนต์ขลัง สร้างพลังศรัทธาแก่องูค์พระพรมธาตุนาดูเป็นอย่างมาก อำเภอนาดูน เป็นดินแดนเมืองโบราณที่ชื่อว่า นครจัมปาศรี ซึ่งเคยเจริญรุ่งเรืองในสมัยทวารวดี เป็นศูนย์กลางทางพระพุทธศาสนา โดยมีหลักฐานที่แสดงถึงความเจริญรุ่งเรือง เช่น คูเมืองโบราณ ใบเสมาที่ทำด้วยหินศิลาแลง กู่สันตรัตน์ ศาลานางขาว กู่น้อย

และที่สำคัญที่สุด เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2522 ได้มีการขุดพบพระสถูปสำริดบรรจุพระบรมสาริกธาตุ ก่อสร้างพระบรมธาตุนาดูน ในปี พ.ศ. 2528 โดยจำลองแบบก่อสร้างจากพระสถูปสำริดที่ขุดพบ ต่อมาเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2530 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร รัชกาลที่ 10 เสด็จแทนพระองค์ ทรงบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ไว้ในองค์พระบรมธาตุนาดูน

สำหรับการจัดงานนมัสการพระบรมธาตุนาดูน เพื่อเพื่อส่งเสริมพระพุทธศาสนาถวายเป็นพุทธบูชา เพื่อประชาสัมพันธ์องค์พระบรมธาตุนาดูน ให้เป็นที่ประจักษ์ของประชาชนเพิ่มมากขึ้น เพื่อกระตุ้นให้ประชาชนในท้องถิ่น เห็นความสำคัญตระหนักในคุณค่าและเกิดความหวงแหนในศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น เพื่อจัดหารายได้พัฒนา และทำนุบำรุงรักษา บริเวณพุทธมณฑลอีสาน การจัดงานนมัสการพระบรมธาตุตุนาดูนได้เริ่มมาตั้งแต่ ปี พ.ศ.2522 โดยการจัดงานครั้งแรกเป็นการจัดงานนมัสการพระบรมสารีริกธาตุระยะนี้เป็นช่วงที่ยังไม่ได้ก่อสร้างพระบรมธาตุนาดูนซึ่งในปีนี้เป็นการจัดงานปีที่ 45

ด้าน ต่าย อรทัย กล่าวว่า ปีนี้เป็นปีที่ 2 แล้วที่ได้มารำบวงสรวงเปิดงานนมัสการพระบรมธาตุนาดูน ร่วมกับพี่น้องชาวมหาสารคาม ซึ่งผู้ใหญ่ให้โอกาสมารำอีกครั้งถือว่าเป็นความโชคดี โดยคนเถ่าคนแกบอกว่าหากได้มาร่วมงานถือว่ามีบุญวาสนาต่อกันที่ได้ทำร่วมกันมา ซึ่งงานนี้เป็นงานบุญศักดิ์สิทธิ ชาวบ้านและนักท่องเที่ยวทั่วสารทิศมากราบไหว้บูชา รวมถึงการรำถวาย ซึ่งนางรำแต่ละคนต้องใช้เวลาฝึกซ้อมหลายเดือน ซึ่งตนเคยมารำแล้วก็ต้องใช้เวลาหัดซ้อมรำหลายวัน และตื่นเต้นตลอดเวลา เป็นเป็นงานศักดิ์สิทธิ จึงอยากเชิญชวนมาเที่ยวงานกันเยอะๆเพื่อความเป็นสิริมงคลกับตัวเองและครอบครัว